วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

อัตราเงินเฟ้อ VS ดอกเบี้ยเงินฝาก

       ความเสี่ยง (Risk) ก็คือ ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยเราสามารถคาดคะเน หรือคาดเดาล่วงหน้า ซึ่งอาจจะตรง หรือไม่ตรงอย่างที่คิดไว้ก็ได้

       ตัวอย่างเช่น ปกติผมซื้อเนื้อหมู 1 กิโลกรัม ราคา 120บาท ด้วยความเคยชินผมจึงพกเงินไป 120 บาทพอดี ปรากฏว่าเมื่อไปถามราคาเนื้อหมู คนขายบอกว่า ช่วงนี้เนื้อหมูขึ้นราคา กลายเป็น กิโลกรัมละ 125 บาท เราพกเงินมาไม่พอ ไม่ตรงตามที่คิด จัดว่าเป็นความเสี่ยง กรณีเดียวกัน ถ้าคนขายบอกว่า ช่วงนี้เนื้อหมูลดราคา กลายเป็นกิโลกรัมละ 115 บาท เงินที่พกมาเกินความคาดคิด จัดเป็นความเสี่ยงอีกเช่นกัน



Photobucket

       ตอนเด็กผมมีความคิดว่า หากมีเงินเก็บเยอะๆ เอาไปฝากธนาคาร เงินฝากอยู่ครบปลอดภัยดี แถมได้ดอกเบี้ยเงินฝากอีก พอโตมาเริ่มทำงาน มีเงินเก็บก็เอาไปฝากธนาคารไว้ ถึงตอนปลายปีรับดอกเบี้ยเงินฝากแทบตกใจ เพราะดอกเบี้ยเงินที่ได้ไม่ถึง 1% มันช่างน้อยนิดเสียจริงหากเทียบกับจำนวนเงินที่ฝาก


       คราวนี้มาพูดถึงความเสี่ยงของเงินกันบ้าง หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า เงินเฟ้อ อยู่บ่อยๆ ตัวนี้แหละ คือ ความเสี่ยงที่เกิดกับเงินที่เรามีอยู่อย่างต่อเนื่องทุกวัน ทุกเดือน และทุกปี ตัวอย่างเช่น

       - เมื่อก่อนเคยซื้อน้ำอัดลมขวดละ 5 บาท ตอนนี้มีเงิน 5 บาทซื้อน้ำอัดลมไม่ได้แล้ว เพราะปัจจุบันน้ำอัดลมขวดละ 8 บาท

       - เมื่อก่อนเคยขึ้นรถเมล์ จ่ายค่าโดยสารคนละ 3.50 บาท ปัจจุบันขึ้นรถเมล์ จ่ายค่าโดยสาร 7 บาท แพงกว่าเดิมถึง 2 เท่า


       ยิ่งเวลาผ่านไปมากเท่าไหร่ มูลค่าของเงินจะยิ่งเล็กลงเรื่อยๆ ผมเริ่มคิดว่ามีวิธีไหนที่จะป้องกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อได้บ้าง ทางออกก็คือ ในเมื่อเงินมีสภาพเล็กลงเรื่อยๆ เราลองมองหาทรัพย์สินอื่นๆที่สามารถเติบโตได้ด้วยตัวของมันเอง ยิ่งเติบโตได้มากกว่าอัตราเงินเฟ้อมากเท่าไหร่ยิ่งดี



Photobucket

       จากตารางที่ผมได้จำลองขึ้น สมมุติว่า ผมมีเงินเก็บ(ช่องสีฟ้า) ปีละ 24,000 บาท เมื่อระยะเวลาผ่านไป 20 ปี(ช่องสีแดง) จะเห็นได้ว่า มูลค่าของเงินที่เก็บไว้เฉยๆ หายไปถึง 25% ยิ่งมีเงินเก็บเยอะเท่าไหร่ แล้วทิ้งไว้เฉยๆนานมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งหายเยอะเท่านั้น

       หากนำเงินจำนวนดังกล่าวไปฝากธนาคาร กินดอกเบี้ยเงินฝากล่ะ มูลค่าของเงินหายไป 18% ก็ยังไม่ดี เพราะดอกเบี้ยเงินฝากแบบออมทรัพย์ที่ได้รับเพียง 0.75% เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อ 2.72% มากกว่าถึงเกือบ 4 เท่าของดอกเบี้ยเงินฝากแบบออมทรัพย์เลยทีเดียว เริ่มเครียดแล้วสิ !

       แต่หากผมนำเงินสดซื้อสินทรัพย์รูปแบบอื่นที่มีการเติบโตปีละเพียง 5% และสามารถซื้อกลับมาเป็นเงินสดได้ ผลลัพธ์ที่ได้รับเมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี มาลุ้นดีกว่าว่าผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร

       มูลค่าของสินทรัพย์เพิ่มขึ้นกว่าเงินต้นถึง 28% และมากกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ยเงินฝากถึง 56% เลยทีเดียว นี่แหละความมหัศจรรย์ที่ Robert Kiyosaki กล่าวถึง



********************************************************************************

เพิ่มเติม

       เงินเฟ้อ (Inflation) คือ มูลค่าของเงินเล็กลงเรื่อยๆ แต่มูลค่าของสินค้าอุปโภค บริโภคกลับแพงขึ้น


Photobucket

       สาเหตุสำคัญของอัตราเงินเฟ้อเกิดจาก เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด และก็มีทีท่าว่าจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีความต้องการบริโภคมากขึ้น ราคาสินค้าจึงเพิ่มขึ้นตามความต้องการ




Photobucket

อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 2.72% ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ : 



Photobucket

อัตราเงินฝากของธนาคาร อยู่ที่ประมาณ 0.75% ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ :


ขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย : http://www.bot.or.th




********************************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น