วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กลไกตลาด (Market Force)



       นิยามของคำว่า "กลไกตลาด" มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยที่ อดัม สมิธ (Adam Smith) ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ที่ได้รับการยกย่องจากวงการเศรษฐศาสตร์ให้เป็น "บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์" การเปรียบเทียบกลไกตลาด เสมือน มือที่มองไม่เห็น (Invisible Hand) โดยนำเสนอแนวความคิดว่า " ในตลาดเสรี ราคาสินค้าในตลาด มีทิศทางของมัน ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งกำหนดราคาแต่เพียงผู้เดียวได้ "




       ราคาสินค้า (Price) ตามกลไกตลาด จะเพิ่มขึ้น หรือลดลง มีผลมาจากความต้องการของผู้ซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการของผู้ขาย (อุปทาน) เป็นหลัก



********************************************************************************

       ผู้ซื้อ (ลูกค้า) มีกำลังเงินใช้จ่ายซื้อสินค้า ต้องการซื้อสินค้าให้คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายออกไป



       ความต้องการของผู้ซื้อ มีลักษณะราคาแปรผกผันกับปริมาณ

       - เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น และสามารถซื้อสินค้าได้จำนวนน้อยลง ขาดแรงจูงใจ ทำให้ซื้อสินค้าลดลง

       - เมื่อราคาสินค้าถูกลง และสามารถซื้อสินค้าได้จำนวนมากขึ้น เกิดแรงจูงใจ ทำให้ซื้อสินค้ามากขึ้น

       - เมื่อผู้ซื้อมีความต้องการซื้อสินค้าจำนวนมาก ทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด ผู้ขายมองเห็นช่องทางของกำไรของการขายสินค้า จะปรับราคาสินค้าให้เพิ่มสูงขึ้น



********************************************************************************

       ผู้ขาย (พ่อค้า) มีกำลังการผลิตสินค้าที่ตนเองต้องการขาย ต้องการขายสินค้าในราคาแพง เพื่อให้คุ่มค่ากับต้นทุนการผลิตสินค้า



       ความต้องการของผู้ขาย มีลักษณะราคาแปรผันตามปริมาณ

       - เมื่อราคาสินค้าถูกลง และกำไรลดลง ขาดแรงจูงใจ ทำให้ผลิตสินค้าลดลง

       - เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น และกำไรมากขึ้น เกิดแรงจูงใจ ทำให้ผลิตสินค้ามากขึ้น

       - เมื่อมีสินค้าค้างสต๊อก จำเป็นต้องระบายสินค้าออก ผู้ขายจึงลดราคาสินค้าลง เพื่อจูงใจให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าของผู้ซื้อ




       กลไกตลาด ล้วนแล้วเกิดจากความคิดของ "คน" นั่นเอง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง ในที่สุดแล้วราคาสินค้าจะปรับตัวเข้าจุดสมดุลย์ตามกลไกตลาดที่ได้กล่าวไว้ขั้นต้น ดังนั้นไม่ว่าเราจะเป็นผู้ซื้อ หรือผู้ขาย หากมองกลไกตลาดออกแล้ว ย่อมมีประโยชน์ และคุ้มค่าแก่การลงทุน



********************************************************************************