วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

ออมเงิน

       ช่วงปิดเทอมหรือหลังเลิกเรียน หากเราไปเดินเที่ยวตามห้าง อย่างเช่น ร้าน Swensens มักเห็นนักเรียนนักศึกษาหารายได้พิเศษ นักศึกษามหาวิทยาลัยหลายคนเริ่มหันมาสนใจการลงทุนกันมากขึ้น เห็นอย่างชัดเจนหลายคนเริ่มลงทุนตั้งแต่ยังเรียนไม่จบมหาวิทยาลัย ก็มีรายได้เป็นของตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาพ่อแม่ที่เลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เด็ก ถือว่าเป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง


       หากมีรายได้แล้ว ใช้เงินที่หามาได้จนหมด ก็จะไม่มีเงินเก็บ ในขณะนั้นเรามองว่า ไม่จำเป็น หรือ ไม่เป็นไร เพราะมีความสามารถในการหารายได้อยู่ แต่มันมีผลในอนาคต อนาคตไม่แน่นอน เงินจำนวนนั้นอาจมีความจำเป็นต้องใช้ เร่งด่วน แล้วเราอาจจะต้องไปกู้หนี้ยืมสินจากเพื่อนๆ หรือคนรู้จักมา ในขณะที่อีกหลายคนแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้เก็บ เค้าก็จะไม่ลำบากในภายภาคหน้าหากต้องการใช้เงิน




Photobucket

       ผมเคยเข้าร่วมการอบรมคอร์ส ปลุกยักษ์ ของโค้ช สิริลักษณ์ ตันศิริ ซึ่งทางบริษัทได้จัดขึ้น โค้ช สิริลักษณ์ พูดถึงการเก็บเงินว่า “เวลาที่เราได้เงินเดือน หรือมีรายได้เข้ามา ให้คิดเสมอๆ ว่า เราต้องการเก็บเงินจำนานเท่าไหร่ และคิดว่าเรากำลังใช้เงินในอนาคตอยู่ ส่วนที่เหลือค่อยเบิกมาใช้จ่าย เพราะค่าใช้จ่ายเยอะกว่าเงินเก็บ”


       ผมเคยเจอปัญหาว่า ไม่มีเงินเก็บเลย เพราะใช้จ่ายจนหมด เมื่อตั้งสติได้ก็นั่งนึกทบทวนว่าจะแก้ไขอย่างไรดี เราเคยเรียนทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย มาก็เลยลองทำบัญชีสัก 1 เดือนดูก่อน ผม ทุกวันกลับจากที่ทำงานมาก็นึกว่า วันนี้เราใช้จ่ายอะไรบ้าง พอนึกออกก็กรอกใส่ไฟล์ Excel เก็บไว้ พอครบ 1 เดือนก็มาเปิดดูว่า มีตอนไหนใช้จ่ายฟุ่มเฟือยไป ส่วนไหนลดได้ก็ลดลง




Photobucket

       พอเริ่มมีเงินฝากธนาคารมากขึ้นหน่อย มีบัตร ATM พกติดตัว ทำให้การใช้เงินสะดวกสบาย ผมกดเงินจากตู้ ATM หลายๆครั้งต่อเดือนถี่มาก ก็เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมในการกดเงินจากตู้ ATM โดยลองคำนวณดูในบัญชีรายรับ – รายจ่ายดูว่า แต่ละเดือนใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ แล้วค่อยกดเงินจากตู้ ATM เพียงครั้งเดียว อาจจะมีบ้างที่กดรอบ 2 แต่ก็น้อยครั้ง


       การเก็บเงินของผมจะแบ่งเงินเป็น 3 ส่วนด้วยกัน แน่นอนก้อนแรก คือ เงินที่ต้องการเก็บ ก้อนที่สองให้ทางบ้าน และก้อนสุดท้าย คือ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว บางครั้งค่าใช้จ่ายเยอะก็ไปดึงเงินเก็บมาบ้าง แต่ไม่ทุกเดือน ใครจะเอาวิธีของผมไปใช้บ้างก็ยินดีครับ ถือว่าแชร์ประสบการณ์กัน




Photobucket

       ส่วนตัวผมมองว่าการใช้บัตร ATM และบัตรเครดิต เป็นดาบ 2 คม
- ข้อดี ใช้ง่าย สะดวกสบาย ไม่ต้องพกเงินสดครั้งละมากๆ แถมบัตร Credit มีแต้มสะสมด้วย หลายคนบริหารการหมุนเงินในบัตรเครดิตได้ดีก็สามารถกู้ได้ครั้งละมากๆ เป็นผลดีในการทำธุรกิจ
- ข้อเสีย ทำให้ติดนิสัยฟุ่มเฟื่อย เป็นหนี้เป็นสิน ไม่มีเงินเก็บ อาจกลายเป็น บัตรสร้างหนี้ ได้




********************************************************************************

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

ชีวิต คือ การลงทุน

       ชีวิตของคนเราไม่อาจปฏิเสธการลงทุนได้ ตอนเด็กเข้าเรียนก็ตั้งใจเรียน เรียนจบมา ได้ทำงานประจำ ใช้ทั้งแรง ใช้ทั้งความคิด ถือเป็นการลงทุนที่ไม่ใช้ตัวเงินทางหนึ่ง เมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น ประสบการณ์เพิ่มขึ้น มีเงินทองเก็บมากขึ้น ก็มองหาช่องทางทำธุรกิจเป็นของตัวเอง มันไม่เรื่องง่ายสำหรับการลงทุนด้วยเงินเก็บมาครึ่งค่อนชีวิต


       ก้าวชีวิตของผมถือว่าโชคดีที่ได้มารู้จักการลงทุน ก่อนหน้านี้ผมไม่เคยคิดจะสนใจสิ่งเหล้านี้มาก่อน จนมาได้ศึกษาเรื่องการลงทุนจากสายงานที่ตัวผมเองเป็นผู้รับชอบ ผมค้นคว้าด้วยตัวเอง และได้รับคำแนะนำจากเพื่อนร่วมงาน ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนมากขึ้น



Photobucket

       ผมเริ่มสนใจการลงทุนมากขึ้น เมื่อนั่งคิดเปรียบเทียบถึงผลตอบแทนที่ได้รับจากการเงินฝากธนาคาร กับการลงทุนในหุ้นที่ผมกำลังศึกษาอยู่ จึงพบความแตกต่างของผลตอบแทนในทั้ง 2 อย่าง

       - เงินฝากธนาคารแบบออมทรัพย์ ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากอันน้อยนิด

       - การลงทุนในหุ้น ได้ผลตอบแทนถึง 2 ทาง คือ

       1. กำไรจากส่วนต่างของราคา เรียกว่า Capital Gain

       2. กำไรจากเงินปันผลของบริษัท เรียกว่า Dividend Yield



       ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2551 ผมเริ่มลงทุนด้วยเงินเก็บก้อนแรก ประสบการณ์ยังไม่มี แต่รู้ว่าการลงทุนด้วยหุ้นนั้นดี กลับกลายเป็นช่วงจังหวะที่โชคร้ายที่สุด เพราะเมื่อเริ่มลงทุนก็ขาดทุนเลย ปีนั้นได้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) ตลาดหุ้นทั่วโลกเป็นช่วงขาลง เมื่อตลาดหุ้นไทยลงตาม หุ้นที่ผมเพิ่งซื้อไป ก็ขาดทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และด้วยความหวังเล็กๆ ที่เชื่อว่าราคาหุ้นจะกลับมาราคาเดิมจึงถือหุ้นไว้ แต่อนิจจาพอร์ตของผมมีแต่หุ้นเก็งกำไร จำได้ว่ามีหุ้นอยู่ตัวหนึ่งซื้อไว้ตอนราคา 9 บาท มันหล่นลงมาเหลือแค่บาทเดียว หลังจากนั้นราคามันไม่เคยกลับไปราคาเดิมเลย



Photobucket

       ในตอนนั้นเพื่อนร่วมงานให้ยืมให้หนังสือสอนเล่นหุ้นเล่มนึงมา ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เป็นผู้แต่ง ผมลองหยิบขึ้นมาอ่านเล่นๆ รู้สึกชื่นชอบสไตล์การลงทุนของท่านมาก สไตล์การลงทุนแบบ Value Investor (VI)


       ผมตัดสินใจขายหุ้นในพอร์ตที่ขาดทุนอยู่ทิ้งทั้งหมด แล้วเริ่มต้นใหม่ด้วยซื้อหุ้นพื้นฐานที่ตอนนั้นคนส่วนใหญ่ยังไม่สนใจมากนัก หุ้นตัวแรกที่เริ่มซื้อถือไว้ยาวจนถึงปัจจุบัน คือ CPALL หรือ ร้าน 7-11 ที่หลายคนคุ้นเคย สาเหตุที่ซื้อเพราะดร.นิเวศน์ซื้อ เลยซื้อตาม แล้วชอบแนวความคิดของเจ้าสัวซีพีอยู่เป็นทุนเดิม



Photobucket

       ปัจจุบันเงินเก็บของผม ลงทุนในหุ้นพื้นฐานเกือบทั้งหมด และแนะนำสมาชิกในบ้านให้ร่วมลงทุนด้วย ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลายคนคงไอเดียใหม่ๆ ในการลงทุนไม่มากก็น้อย


********************************************************************************

เพิ่มเติม

       Capital Gain คือ กำไรที่เกิดจากการขายหุ้น หลังหักจากต้นทุนแล้ว


       Dividend Yield คือ กำไรส่วนแบ่งจากบริษัทที่เราถือหุ้นอยู่ หากบริษัทมีกำไรมากมีโอกาสจ่ายเงินปันผลมากตาม หากบริษัทขาดทุนมีโอกาสงดจ่ายเงินปันผลได้เช่นกัน



Photobucket

       Hamburger Crisis เหตุการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจที่มีสาเหตุมาจากบริษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่หลายแห่งในอเมริกาล่มละลาย อาทิเช่น Lehman Brother เป็นต้น หลายคนเรียกว่า วิกฤตซับไพร์ม Sub Prime ก็คือ การปล่อยเงินกู้ของสหรัฐให้ลูกหนี้ที่มีเครดิตต่ำกว่ามาตรฐาน ใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ผลที่ตามมา คือ ลูกหนี้ส่วนใหญ่หนีหนี้ บริษัทหรือธนาคารที่ปล่อยเงินกู้ก็เลยเงินขาดมือ


       ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เป็นนักลงทุนในหุ้นอันดับ 1 ของไทย ผู้ปลุกแนวความคิดที่มุ่งเน้นในการลงทุนแบบเน้นคุณค่า และปลอดภัย เป็นผู้แปลหนังสือของวอร์เรน บัฟเฟตต์ เขียนบทความ และหนังสือเกี่ยวกับการลงทุน



Photobucket

       Value Investor (VI) คือ หลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ซึ่งแนวความคิดการลงทุนสไตล์นี้ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นสไตล์การลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เศรษฐีอันดับ 2 ของโลก โดยวิเคราะห์จากการประเมินมูลค่ากิจการ

- วิธีต้นทุนทดแทน (Replacement Cost)

- ความสามารถในการทำกำไร (Earning power Value)

- การเติบโตของบริษัท (Growth)





********************************************************************************