วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

จำนวนหุ้นขั้นต่ำในการซื้อขาย


ต้องมีเงินขั้นต่ำเท่าไหร่ถึงจะพอซื้อหุ้นได้ ?

       ขึ้นอยู่กับว่าต้องการซื้อหุ้นตัวไหน โดยมีขั้นต่ำในการซื้อขายหุ้นอย่างน้อย 100 หุ้น หรือ หารด้วย 100 ลงตัว เช่น 700 หุ้น / 1,400 หุ้น / 2,100 หุ้น และ 1,234,500 หุ้น เป็นต้น



       หุ้นราคาต่ำสุดหุ้นละ 0.01 บาท ดังนั้นถ้าซื้อหุ้นจำนวน 100 หุ้น ใช้เงินลงทุนแค่ 1 บาทเท่านั้นเอง


       ราคาหุ้นสูงสุดในตอนนี้ คือ RAM ราคาหุ้นละ 1,750 บาท ดังนั้นถ้าซื้อหุ้นจำนวน 50 หุ้น ใช้เงินลงทุนตั้ง 89,500 บาทเชียวล่ะ

       การเลือกซื้อหุ้นราคาต่ำ มีข้อดีตรงที่ ซื้อได้จำนวนหุ้นมาก ข้อควรระวัง คือ การเสี่ยงต่อการถูกปั่นราคา ในเมื่อเรามีเงินซื้อได้จำนวนมาก คนอื่นก็มีเงินซื้อได้จำนวนมากเช่นกัน และเมื่อคนอื่นขายหุ้นจำนวนมากๆ ย่อมทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง ถ้าเราขายไม่ทันราคาหุ้นอาจจะปรับตัวลงมาเท่ากับต้นทุนเรา หรือขาดทุนไปเลยก็ได้

       การเลือกซื้อหุ้นราคาสูง มีข้อดีตรงที่ ด้วยราคาหุ้นที่สูงกว่าราคาหุ้นตัวอื่นๆ ในตลาด ซื้อได้จำนวนหุ้นน้อย ทำให้การเสี่ยงต่อการถูกปั่นราคาน้อยกว่า (การปั่นราคาจำเป็นต้องถือหุ้นในมือเป็นจำนวนมาก) ข้อควรระวัง คือ ควรเลือกหุ้นราคาสูงที่มีปริมาณการซื้อขายหุ้นภายในวันมากพอสมควร บอกก่อนว่าหุ้นประเภทนี้ เหมาะกับคนใจเย็นรอเวลาได้



********************************************************************************


ต้องการขายเศษหุ้นที่มีไม่ถึง 100 หุ้น ต้องทำยังไง ?


       หากเราถือหุ้นบางตัว เช่น HMPRO , GLOBAL เป็นต้น ได้รับสิทธิ์แจกหุ้นฟรี เมื่อบวกหุ้นฟรีเข้ากับหุ้นเดิม ทำให้เกิดเศษหุ้นเวลาตั้งขาย โดยปกติเราไม่สามารถตั้งขายเศษหุ้นเองได้


ตัวอย่าง เช่น นาย A ถือหุ้น HMPRO จำนวน 1,450 หุ้น


       การขายหุ้นวิธีแรก เน้นประหยัดค่าคอมมิชชั่นส่วนใหญ่ นาย A ตั้งขายหุ้นผ่านระบบซื้อขายออนไลน์ด้วยตัวเอง ในจำนวนหุ้นที่หาร 100 ลงตัว นั่นคือ ตั้งขายหุ้น HMPRO จำนวน 1,400 หุ้น

       ส่วนเศษหุ้นจำนวน 50 หุ้นที่เหลือ นาย A โทรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ Marketing ของนาย A ให้ช่วยคีย์คำสั่งขายเศษหุ้น HMPRO ที่เหลือ

       
การขายหุ้นวิธีที่สอง เน้นลดขั้นตอนยุ่งยากลง ยอมจ่ายค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้นหน่อย นาย A โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ Marketing ของนาย A ให้ช่วยคีย์คำสั่งขายหุ้น HMPRO จำนวนทั้งหมด 1,450 หุ้น



********************************************************************************


ทำไมหุ้นบางตัวซื้อขายหุ้นจำนวน 50 หุ้น ?



       เนื่องจากในตลาดหุ้น มีหุ้นบางตัวราคาหุ้นสูง เพื่อตัดปัญหานักลงทุนที่มีเงินลงทุนต่ำ พลาดโอกาสในการลงทุนหุ้นเหล่านี้ จึงมีการกำหนดเงื่อนไขใช้กับหุ้นที่มีราคาปิด 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลานานเกิน 6 เดือน สำหรับหุ้นที่เข้าเกณฑ์ซื้อขายจำนวนหุ้น 50 หุ้น ขณะนี้มีเพียง 2 ตัว ดังนี้

หุ้น RAM ราคา 1,750 บาท

หุ้น SCBLIF ราคา 1,010 บาท



********************************************************************************


กรณีศึกษาของ BANPU

       หลายคนมีข้อสงสัยว่า ปัจจุบัน BANPU  เราสามารถตั้งซื้อขายขั้นต่ำจำนวนกี่หุ้นกันแน่ ?


       ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2552 เป็นต้นมา ราคาหุ้น BANPU ได้ขยับเพิ่มขึ้นสูงกว่า 500 บาท ในช่วงนั้นยังต้องซื้อขายหุ้น BANPU ขั้นต่ำจำนวน 100 หุ้น จนกระทั่งเข้าเดือนมิถุนายน 2553 ครบเวลา 6 เดือนตามเงื่อนไข ตลาดหลักทรัพย์ได้ทำการปรับให้ การซื้อขายจำนวนหุ้นขั้นต่ำของ BANPU อยู่ที่จำนวน 50 หุ้น

       BANPU ได้ทำยอดสูงสุด (Climax Top) ที่ราคา 856 บาทในวันที่ 14 มกราคม 2554 แล้วก็ราคาค่อยๆปรับราคาลงเรื่อยๆ ตามกราฟจะเห็นได้ว่า วันที่ 7 ตุลาคม 2554 ราคาเปิด 494 บาท ได้แตะจุดต่ำกว่า 500 บาทครั้งแรก และกลับมาปิดสูงกว่า 500 บาทภายในวัน

       
ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2555 นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ราคาหุ้น BANPU ปรับราคาลงต่ำกว่า 500 บาทแบบถาวร ราคายังคงปรับลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเข้ากลางเดือนพฤศจิกายน ครบเวลา 6 เดือนตามเงื่อนไข ตลาดหลักทรัพย์ได้ทำการปรับให้ การซื้อขายจำนวนหุ้นขั้นต่ำของ BANPU กลับมาเป็นจำนวน 100 หุ้นตามเดิม

       ล่าสุดราคาหุ้น BANPU อยู่ที่ราคา 357 บาท ดังนั้นเราสามารถซื้อขายหุ้น BANPU ในจำนวนหุ้นขั้นต่ำ 100 หุ้นนั่นเอง



********************************************************************************

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

ช่วงราคา (Spread Price)


       การเคลื่อนไหวขึ้นลงของราคาหุ้นเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งหุ้นที่ขึ้นลงแต่ละช่องนั้นขึ้นอยู่กับช่วงราคา (Spread Price) ในระดับราคาของหุ้นตัวนั้น อาทิเช่น ราคาหุ้นต่ำกว่า 2 บาทมีช่วงราคาขึ้นลง ไม่เท่ากับราคาหุ้นที่มากกว่า 2 บาท เป็นต้น

       ดังนั้นนักลงทุนจึงควรศึกษาเรื่องช่องราคาอย่างเข้าใจ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นได้อย่างเต็มที่




********************************************************************************


ตัวอย่างระดับราคาหุ้น และช่วงราคาขึ้นลง




ตัวอย่าง หุ้น TCC ราคา 2 บาท เป็นระดับราคาหุ้นในช่วงคาบเกี่ยว

เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้น เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นตั้งแต่ 2 บาท ถึง 5 บาท

       - หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 2.02 (เพิ่มขึ้น 0.02 บาท) คิดเป็น 1%

       - หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 2.04 (เพิ่มขึ้น 0.04 บาท) คิดเป็น 2%


เมื่อราคาหุ้นลดลง เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นน้อยกว่า 2 บาท

       - หากระดับราคาหุ้นลดลง 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 1.99 (ลดลง 0.01 บาท) คิดเป็น 0.5%

       - หากระดับราคาหุ้นลดลง 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 1.98 (ลดลง 0.02 บาท) คิดเป็น 1.0%


สรุปจากตัวอย่าง หุ้น TCC ราคา 2 บาท
       หากราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1 ช่อง จะได้กำไร 1% หากราคาหุ้นลดลง 2 ช่อง จะขาดทุน 1% ส่วนต่างของช่วงกำไรมากกว่าส่วนต่างของช่วงขาดทุนถึง 1 เท่าตัว

* หุ้นในตลาดที่ราคาต่ำสุด คือ 0.01 ซึ่งไม่สามารถลงต่ำกว่าราคานี้ได้อีกแล้ว ยกเว้นถูกถอดหุ้นออกจากตลาด หากราคาเพิ่มขึ้น 1 ช่อง จะได้กำไร 100% หรือ 1 เท่าตัวกันเลยทีเดียว


********************************************************************************




ตัวอย่าง วอแรนต์ EARTH-W3 ราคา 5 บาท เป็นระดับราคาวอแรนต์ในช่วงคาบเกี่ยว

เมื่อราคาวอแรนต์เพิ่มขึ้น เข้าเงื่อนไขระดับราคาวอแรนต์ตั้งแต่ 5 บาท ถึง 10 บาท

       - หากระดับราคาวอแรนต์เพิ่มขึ้น 1 ช่อง ราคาวอแรนต์เท่ากับ 5.05 (เพิ่มขึ้น 0.05 บาท) คิดเป็น 1%

       หากระดับราคาวอแรนต์เพิ่มขึ้น 2 ช่อง ราคาวอแรนต์เท่ากับ 5.10 (เพิ่มขึ้น 0.10 บาท) คิดเป็น 2%


เมื่อราคาวอแรนต์ลดลง เข้าเงื่อนไขระดับราคาวอแรนต์ตั้งแต่ 2 บาท ถึง 5 บาท

       - หากระดับราคาวอแรนต์ลดลง 1 ช่อง ราคาวอแรนต์เท่ากับ 4.98 (ลดลง 0.02 บาท) คิดเป็น 0.4%

       หากระดับราคาวอแรนต์ลดลง 2 ช่อง ราคาวอแรนต์เท่ากับ 4.96 (ลดลง 0.04 บาท) คิดเป็น 0.8%


สรุปจากตัวอย่าง วอแรนต์ EARTH-W3 ราคา 5 บาท
       หากราคาวอแรนต์เพิ่มขึ้น 2 ช่อง จะได้กำไร 2% หากราคาวอแรนต์ลดลง 5 ช่อง จะขาดทุน 2% ส่วนต่างของช่วงกำไรมากกว่าส่วนต่างของช่วงขาดทุนหลายเท่าตัว


********************************************************************************




ตัวอย่าง หุ้น CTARAF ราคา 10 บาท เป็นระดับราคาหุ้นในช่วงคาบเกี่ยว

เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้น เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นตั้งแต่ 10 บาท ถึง 25 บาท

       - หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 10.1 (เพิ่มขึ้น 0.1 บาท) คิดเป็น 1%

       หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 10.2 (เพิ่มขึ้น 0.2 บาท) คิดเป็น 2%


เมื่อราคาหุ้นลดลง เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นตั้งแต่ 5 บาท ถึง 10 บาท

       - หากระดับราคาหุ้นลดลง 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 9.95 (ลดลง 0.05 บาท) คิดเป็น 0.5%

       หากระดับราคาหุ้นลดลง 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 9.90 (ลดลง 0.10 บาท) คิดเป็น 1.0%


สรุปจากตัวอย่าง หุ้น CTARAF ราคา 10 บาท

       หากราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1 ช่อง จะได้กำไร 1% หากราคาหุ้นลดลง 2 ช่อง จะขาดทุน 1% ส่วนต่างของช่วงกำไรมากกว่าส่วนต่างของช่วงขาดทุนถึง 1 เท่าตัว


********************************************************************************




ตัวอย่าง หุ้น JUBILE ราคา 25 บาท เป็นระดับราคาหุ้นในช่วงคาบเกี่ยว

เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้น เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นตั้งแต่ 25 บาท ถึง 100 บาท

       - หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 25.25 (เพิ่มขึ้น 0.25 บาท) คิดเป็น 1%

       หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 25.50 (เพิ่มขึ้น 0.50 บาท) คิดเป็น 2%


เมื่อราคาหุ้นลดลง เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นตั้งแต่ 10 บาท ถึง 25 บาท

       - หากระดับราคาหุ้นลดลง 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 24.9 (ลดลง 0.1 บาท) คิดเป็น 0.4%

       หากระดับราคาหุ้นลดลง 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 24.8 (ลดลง 0.2 บาท) คิดเป็น 0.8%


สรุปจากตัวอย่าง หุ้น JUBILE ราคา 25 บาท
       หากราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 2 ช่อง จะได้กำไร 2% หากราคาหุ้นลดลง 5 ช่อง จะขาดทุน 2% ส่วนต่างของช่วงกำไรมากกว่าส่วนต่างของช่วงขาดทุนหลายเท่าตัว


********************************************************************************



ตัวอย่าง หุ้น DTAC ราคา 100 บาท เป็นระดับราคาหุ้นในช่วงคาบเกี่ยว

เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้น เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นตั้งแต่ 100 บาท ถึง 200 บาท

       - หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 100.5 (เพิ่มขึ้น 0.5 บาท) คิดเป็น 0.5%

       - หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 101  (เพิ่มขึ้น 1 บาท) คิดเป็น 1%

เมื่อราคาหุ้นลดลง เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นตั้งแต่ 25 บาท ถึง 100 บาท

       - หากระดับราคาหุ้นลดลง 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 99.75 (ลดลง 0.25 บาท) คิดเป็น 0.25%

       - หากระดับราคาหุ้นลดลง 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 99.50 (ลดลง 0.5 บาท) คิดเป็น 0.50%


สรุปจากตัวอย่าง หุ้น DTAC ราคา 100 บาท
       หากราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1 ช่อง จะได้กำไร 0.5% หากราคาหุ้นลดลง 2 ช่อง จะขาดทุน 0.5%

* ถึงแม้ส่วนต่างของช่วงกำไรจะน้อยแค่ 0.5% ต่อ 1 ช่อง ช่วงตลาดขาลง ช่วงราคาที่ลดลงในแต่ละช่อง คิดเป็น % น้อยกว่าหุ้นในระดับราคาอื่นๆ


********************************************************************************



ตัวอย่าง หุ้น KBANK ราคา 200 บาท เป็นระดับราคาหุ้นในช่วงคาบเกี่ยว

เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้น เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นตั้งแต่ 200 บาท ถึง 400 บาท

       - หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 201 (เพิ่มขึ้น 1 บาท) คิดเป็น 0.5%

       - หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 202  (เพิ่มขึ้น 2 บาท) คิดเป็น 1%

เมื่อราคาหุ้นลดลง เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นตั้งแต่ 100 บาท ถึง 200 บาท

       - หากระดับราคาหุ้นลดลง 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 199.5 (ลดลง 0.5 บาท) คิดเป็น 0.25%

       - หากระดับราคาหุ้นลดลง 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 199 (ลดลง 1 บาท) คิดเป็น 0.50%


สรุปจากตัวอย่าง หุ้น KBANK ราคา 200 บาท
       หากราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1 ช่อง จะได้กำไร 0.5% หากราคาหุ้นลดลง 2 ช่อง จะขาดทุน 0.5%

* ถึงแม้ส่วนต่างของช่วงกำไรจะน้อยแค่ 0.5% ต่อ 1 ช่อง ช่วงตลาดขาลง ช่วงราคาที่ลดลงในแต่ละช่อง คิดเป็น % น้อยกว่าหุ้นในระดับราคาอื่นๆ


********************************************************************************



ตัวอย่าง หุ้น SCC ราคา 400 บาท เป็นระดับราคาหุ้นในช่วงคาบเกี่ยว

เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้น เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นมากกว่า 400 บาทขึ้นไป

       - หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 402 (เพิ่มขึ้น 2 บาท) คิดเป็น 0.5%

       - หากระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 404  (เพิ่มขึ้น 4 บาท) คิดเป็น 1%

เมื่อราคาหุ้นลดลง เข้าเงื่อนไขระดับราคาหุ้นตั้งแต่ 200 บาท ถึง 400 บาท

       - หากระดับราคาหุ้นลดลง 1 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 399 (ลดลง 1 บาท) คิดเป็น 0.25%

       - หากระดับราคาหุ้นลดลง 2 ช่อง ราคาหุ้นเท่ากับ 398 (ลดลง 2 บาท) คิดเป็น 0.50%


สรุปจากตัวอย่าง หุ้น SCC ราคา 400 บาท
       หากราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 1 ช่อง จะได้กำไร 0.5% หากราคาหุ้นลดลง 2 ช่อง จะขาดทุน 0.5%

* ถึงแม้ส่วนต่างของช่วงกำไรจะน้อยแค่ 0.5% ต่อ 1 ช่อง ช่วงตลาดขาลง ช่วงราคาที่ลดลงในแต่ละช่อง คิดเป็น % น้อยกว่าหุ้นในระดับราคาอื่นๆ


********************************************************************************


วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ฤดูกาลจ่ายเงินปันผล


       หลังจากได้เรียนรู้เรื่องการเลือกหุ้นที่มีผลตอบแทนด้วยการให้เงินปันผลกันไปบ้างแล้ว คราวนี้จะอธิบายถึงการดูความถี่ของหุ้นที่ให้เงินปันผล ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป โดยปกติแล้วที่เราทราบกันดีว่า ช่วงเวลาที่เราจะได้รับเงินปันผล ซึ่งผมมักจะเรียกว่า "ฤดูกาลจ่ายเงินปันผล" ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม ไปจนสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ตรงกับช่วงเวลาเดียวกันที่บริษัทได้จัดการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีนั่นเอง


- หุ้นที่ให้เงินปันผล ปีละ 1 รอบ
พบได้ในหุ้นส่วนใหญ่ ภายใน 1 ปีก็ให้เงินปันผลปีละ 1 ครั้ง


- หุ้นที่ให้เงินปันผล ปีละ 2 รอบ
พบได้ในหุ้นส่วนใหญ่ ภายใน 1 ปีก็ให้เงินปันผลปีละ 2 ครั้ง หรือให้เงินปันผลทุกๆ 6 เดือน


- หุ้นที่ให้เงินปันผล ปีละ 3 รอบ
พบได้น้อยมาก ภายใน 1 ปีก็ให้เงินปันผลปีละ 3 ครั้ง หรือให้เงินปันผลทุกๆ 4 เดือน


- หุ้นที่ให้เงินปันผล ปีละ 4 รอบ
พบมากในหุ้นกลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ภายใน 1 ปีก็ให้เงินปันผลปีละ 4 ครั้ง หรือให้เงินปันผลทุกๆ 3 เดือน เหมาะสมนักลงทุนไม่มีชอบรอนานๆ


- หุ้นที่ให้เงินปันผลระหว่างกาล (รอบพิเศษ)
พบไม่บ่อยครั้ง ขึ้นอยู่กับปีนั้นบริษัทมีกำไรมาก จึงแบ่งส่วนกำไรที่ได้นั้น มาให้ผู้ถือหุ้นเป็นเงินปันผลพิเศษ


- หุ้นที่ให้หุ้นปันผล (บริษัทต้องการเพิ่มปริมาณหุ้นในตลาด เพื่อขยายขนาดธุรกิจ)
พบไม่บ่อยครั้ง เท่าที่ผมเห็นคงจะมีหุ้น HMPRO นี่แหละที่แจกหุ้นปันผลแทนเงินปันผลเป็นประจำเกือบทุกปี


       ปล. ผู้เขียนไม่มีเจตนาในการส่งเสริมให้ซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง เพียงยกตัวอย่างเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับสาระความรู้ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจอยู่แล้ว จะได้เป็นการทบทวนความรู้เดิม ขอให้ทุกคนโชคดีในการลงทุน ขอบคุณครับ

********************************************************************************

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

เงินปันผล


       เงินปันผล(Dividend Yield) คือ ผลตอบแทนอีกช่องทางนึงจากการซื้อหุ้น นักลงทุนบางส่วนอยากได้กำไรเร็วๆ จากส่วนต่างของราคา(Capital Gain) เพราะได้รับกำไรทันทีเมื่อขายหุ้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม)

       สำหรับนักลงทุนที่กำลังแสวงหาความมั่นคงในการลงทุน และต้องการสะสมหุ้นที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า "ลงทุนหุ้นตัวไหนดี ถึงจะได้เงินปันผล" ลองมาเนื้อหาด้านล่างกัน เผื่อได้คำตอบที่ค้นหา



เงินปันผลมาจากไหน ?

       ธุรกิจที่มีผลประกอบการดี มีกำไรหักต้นทุนค่าใช้จ่ายออกไปแล้ว เมื่อเราซื้อหุ้นตัวนั้น แล้วถือหุ้นจนขึ้นเครื่องหมายได้รับสิทธิ์ XD ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลตามนโยบายของบริษัทได้กำหนด


ข้อดีของการซื้อหุ้นที่การจ่ายเงินปันผล คือ เมื่อเราซื้อหุ้นไปแล้ว มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลไปเรื่อยๆ ทุกปี จนกว่าจะขายหุ้นออก 

       หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น เช่น เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตก หุ้นที่ซื้อไว้มีโอกาสสูงที่จะตกตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเราเลือกซื้อหุ้นที่ตัวบริษัทมีความมั่นคงทางธุรกิจไว้บางส่วน ในช่วงเวลานั้นเราก็ยังได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลกลับคืนมาบ้าง ถึงจะน้อยกว่าปีก่อนๆ เพราะได้กำไรลดลง เมื่อบริษัทผ่านพ้นวิกฤตไปได้ บริษัทกลับมามีกำไรดังเดิม เงินปันผลที่ได้รับก็กลับมาด้วยเช่นกัน



วิธีเช็คเงินปันผลจากเว็บไซต์ www.settrade.com

- เข้าเว็บไซต์ www.settrade.com

- พิมพ์ชื่อย่อของหุ้นในช่อง "ค้นหาข้อมูลหลักทรัพย์" กดปุ่ม Enter

- เลือกแถบ "สิทธิประโยชน์ผู้ถือหุ้น"




ความแตกต่างของหุ้นที่จ่ายเงินปันผล และหุ้นที่ไม่จ่ายเงินปันผล

- ตัวอย่าง หากซื้อหุ้น CPF ได้เงินปันผลทุกปีอย่างสม่ำเสมอ และมีโอกาสได้รับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ถ้าซื้อหุ้นในจังหวะที่เหมาะสม มีโอกาสได้กำไรจากส่วนต่างของราคาอีกด้วย

- ตัวอย่าง หากซื้อหุ้น SSI ไม่มีเงินปันผลใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ช่องทางของผลตอบแทนเหลือเพียงช่องทางเดียว คือ กำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อขายเท่านั้น



รู้ได้ยังไงว่าบริษัทจะให้เงินปันผลเท่าไหร่ ?

       บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ มีนโยบายการให้เงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นที่ระบุไว้อย่างชัดเจน โดยคิดจากกำไรสุทธิของบริษัทที่หักภาษีแล้ว

       จุดสังเกตในการดูเงินปันผล เช็คว่าบริษัทนั้นมีนโยบายให้เงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเท่าไหร่ ยิ่งมากยิ่งดี บริษัททั่วไปมีนโยบายให้เงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นประมาณ 40% ของกำไรสุทธิ หากต่ำกว่านั้นถือว่าบริษัทนั้นไม่ให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้น บางบริษัทอาจจะให้เงินปันผลสูงเกิน 100% ของกำไรสุทธิเลยก็มี หรือไม่ให้เงินปันผลเลยก็มี

       อย่างไรก็ตามเมื่อเลือกบริษัทที่ให้เงินปันผลเป็นที่พอใจแล้ว ควรพิจารณาราคาหุ้นในปัจจุบันประกอบด้วย


       ปล. ผู้เขียนไม่มีเจตนาในการส่งเสริมให้ซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง เพียงยกตัวอย่างเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับสาระความรู้ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจอยู่แล้ว จะได้เป็นการทบทวนความรู้เดิม ขอให้ทุกคนโชคดีในการลงทุน ขอบคุณครับ


********************************************************************************

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

ปฏิทินหลักทรัพย์

       วิธีเช็คสเตตัสหุ้นที่ขึ้นเครื่องหมายได้รับสิทธิ์ต่างๆ สามารถเช็คผ่านปฏิทินหลักทรัพย์ผ่านทางเว็บไซต์ www.set.or.th หรือ www.settrade.com ได้

       ประโยชน์ของปฏิทินหลักทรัพย์ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการติดตามว่า ภายในเดือนมีหุ้นตัวไหนบ้างที่ขึ้นเครื่องหมายได้รับสิทธิ์ เพียงแค่คลิกชื่อหุ้นที่ขึ้นเครื่องหมายก็สามารถดูรายละเอียดได้แล้ว


วิธีเปิดจากเว็บไซต์ www.set.or.th มีดังนี้

- เข้าเว็บไซต์ www.set.or.th คลิกปุ่ม Enter

- เลือกแถบข้อมูลบริษัท/หลักทรัพย์ > ตราสารทุน > ปฏิทินหลักทรัพย์



       เมื่อขึ้นหน้าต่างปฏิทินหลักทรัพย์ของเดือนล่าสุด หากจะเลือกข้อมูลของเดือนก่อน หรือเดือนถัดไปก็ได้ ในตารางจะบอกหุ้นที่ขึ้นเครื่องหมายได้รับสิทธิ์ภายในเดือน สามารถคลิกเลือกหุ้นที่ต้องการได้เลย  จะขึ้นหน้าต่างบอกรายละเอียดของหุ้นตัวที่เลือก ดูตัวอย่างได้จากรูปด้านบน

********************************************************************************


วิธีเปิดจากเว็บไซต์ www.settrade.com มีดังนี้

- เข้าเว็บไซต์ www.settrade.com คลิกปุ่ม Enter

- เลือกแถบข้อมูลการซื้อขาย > ปฏิทินหลักทรัพย์




       เมื่อขึ้นหน้าต่างปฏิทินหลักทรัพย์ของเดือนล่าสุด หากจะเลือกข้อมูลของเดือนก่อน หรือเดือนถัดไปก็ได้ ในตารางจะบอกหุ้นที่ขึ้นเครื่องหมายได้รับสิทธิ์ภายในเดือน สามารถคลิกเลือกหุ้นที่ต้องการได้เลย  จะขึ้นหน้าต่างบอกรายละเอียดของหุ้นตัวที่เลือก ดูตัวอย่างได้จากรูปด้านบน

********************************************************************************

วิธีดูปฏิทินหลักทรัพย์

- ดูว่าภายในเดือนนี้มีหุ้นที่ถือตัวไหนบ้างที่ขึ้นเครื่องหมายได้รับสิทธิ์

- ไม่แนะนำให้ซื้อหุ้นที่ขึ้นเครื่องหมายได้รับสิทธิ์ในช่วงใกล้ๆขึ้นเครื่องหมาย ด้วยเหตุผล เพราะอยากได้เงินปันผล หรืออยากได้รับสิทธิ์ต่างๆ เพราะเมื่อถึงวันขึ้นเครื่องหมายแล้ว ราคาหุ้นอาจจะตกทันที เท่ากับเงินปันผลที่ได้รับ ในบางกรณีอาจจะตกมากกว่า แนะนำควรซื้อก่อนขึ้นเครื่องหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน

- โดยปกติบริษัทจะแจ้งเรื่องการขึ้นเครื่องหมายได้รับสิทธิ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 เดือน เพื่อเปิดโอกาสให้เวลาสำหรับนักลงทุนได้ตัดสินใจ พึ่งระวังการขึ้นเครื่องหมายได้รับสิทธิ์อย่างกระทันหันของหุ้นบางบริษัท ซึ่งทำให้เวลาในการตัดสินใจน้อยลงมาก



ตัวอย่างในรูป เครื่องหมาย XD ของหุ้น BTS ขึ้นเครื่องหมายวันที่ 24 เดือนมกราคม 2556 จ่ายเงินปันผลในวันที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ 2556 หุ้นละ 0.163 บาท(0.147 บาทหลังหัก VAT10%)

********************************************************************************