วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวความคิดจากพ่อรวยสอนลูก

       พูดถึงร้านหนังสือ หลายคนที่เป็นนักอ่านตัวยงคงแวะไปบ่อยๆ สำหรับผมก็ชอบเข้าไปอ่านมุมหนังสือสามก๊ก และการลงทุน ตอนเข้าไปทีไรผมมักสะดุดตากับหนังสือยอดฮิตตลอดกาลทั้ง 2 เล่มบนชั้นขายดี นั่นก็คือ กฎแห่งแรงดึงดูด (The Secret) และ พ่อรวยสอนลูก (Rich dad Poor Dad) ของ Robert Kiyosaki



Photobucket

       เกิดความสงสัยขึ้นว่าทันที ว่า Robert Kiyosaki เป็นใคร มาจากไหน ทำไมมีอิทธิพลกับการบริหารการเงินมากเหลือเกิน เมื่อค้นคว้าดู จึงพบว่า Robert Kiyosaki เป็นนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จ และเปิดโรงเรียนสอนทำธุรกิจอันโด่งดัง


       โรเบิร์ตได้เล่าเรื่องราวของเค้าในช่วงชีวิตวัยเด็กให้ฟังว่า ครอบครัวของเค้ามีฐานะยากจน เค้าอยากได้ของเล่น ด้วยความเป็นเด็ก จึงไปขอเงินจากพ่อแท้ๆ ของเค้า (Poor Dad) พ่อแท้ๆ พูดกับโรเบิร์ตว่า พ่อไม่มีเงิน คงซื้อของเล่นให้ไม่ได้หรอก โรเบิร์ตรู้สึกผิดหวังจึงไปขอเงินจากพ่อบุญธรรม โรเบิร์ตรู้ว่าพ่อบุญธรรมมีฐานะร่ำรวย (Rich Dad) คงได้เงินมาซื้อของเล่นแน่นอน พ่อบุญธรรมไม่ให้เงินแก่โรเบิร์ตเช่นเดียวกับพ่อแท้ๆ แต่กลับพูดว่า “มีวิธีที่ช่วยให้โรเบิร์ตซื้อของเล่นได้”


       วิธีของพ่อบุญธรรมก็คือ พ่อบุญธรรมถามโรเบิร์ตว่า ของเล่นที่โรเบิร์ตอยากได้ราคาเท่าไหร่ และโรเบิร์ตได้เงินไปโรงเรียนวันละเท่าไหร่ หลังจากนั้นพ่อบุญธรรมแนะให้โรเบิร์ตเอาเงินหยอดกระปุกวันละ 1 เหรียญ ให้เก็บเหรียญหยอดกระปุกไปเรื่อยๆ จนมีเหรียญพอซื้อของเล่น โรเบิร์ตยกย่องแนวความคิดของพ่อบุญธรรมคนนี้มาก



Photobucket

       แนวความคิดที่น่าสนใจมากอีกอย่างก็คือ เงินทำงาน เป็นหลักการที่ธุรกิจเครือข่ายมักหยิบมาพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย สำหรับหลักการเงินทำงาน คืออะไร เงินทำงานแทนคนได้จริงหรือ เป็นข้อสงสัยที่น่าค้นหาสำหรับผม คำว่าเงินทำงาน หมายถึง การใช้เงินสร้างรายได้ จากธุรกิจที่ต้องลงทุนลงแรงในช่วงแรกๆ จนเมื่อธุรกิจนั้นเริ่มอยู่ตัวแล้ว ก็เราเกษียณตัว รอกินรายได้ที่เข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งมันก็ตรงกับ Concept ของธุรกิจเครือข่ายพอดิบพอดี


       ในช่วงวัยทำงานเรามีเรี่ยวแรงทำมาหากินอย่างเต็มที่ เมื่ออายุมากขึ้นประสิทธิภาพในการทำงานของคนเราจะลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็เข้าสู่วัยชรา การทำงานประจำอย่างเดียวตลอดชีวิต บางคนคิดว่าเป็นสิ่งสร้างความมั่นคง หากมองกลับกลับกลายเป็นความเสี่ยงที่ไม่ทันรู้ตัว เพราะเราทำงานแลกกับรายได้มาตลอด เมื่อวันใดที่เราเจ็บปวด ขาดงาน อาจจะต่อรายได้ประจำที่ได้รับ แล้วยิ่งถ้าป่วยเรื้อรังจำเป็นต้องหยุดงานเป็นระยะยาวนาน ก็อาจต้องหางานใหม่แทน




       โรเบิร์ตได้ให้ทางออกสำหรับปัญหานี้ไว้อย่างชัดเจนในเงิน 4 ด้าน แบ่งได้ 4 อาชีพดังนี้


       - ด้านซ้าย 2 อาชีพ คือ ลูกจ้าง (Employee) แทนตัวย่อ E และ ธุรกิจส่วนตัว (Self-Empolyee) แทนตัวย่อ S
ทั้งสองอาชีพนี้ลงทุนด้านแรง , ความคิด และเวลาแลกกับรายได้ประจำ หากวันใดทำงานไม่ไหว ลาป่วย หรือหยุดพัก จะไม่มีรายได้


       - ด้านขวา 2 อาชีพ คือ เจ้าของธุรกิจ (Business Owner) แทนตัวย่อ B และ นักลงทุน (Investor) แทนตัวย่อ I
ทั้งสองอาชีพนี้ลงทุนด้านแรง , ความคิด และเวลาน้อยกว่า หากธุรกิจนั้นอยู่ตัวแล้ว สามารถทำงานน้อยลง หรือหยุดทำได้ ไม่มีผลกระทบต่อรายได้



Photobucket

       นอกจากนี้โรเบิร์ตได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน และหนี้สินไว้ค่อนข้างชัดเจน โดยให้ดูที่ผลลัพธุ์จากสิ่งนั้นๆ อาทิเช่น


- รถยนต์ หากกู้หนี้ยืมสินมาซื้อรถ เพื่อความสะดวกสบาย แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยต่อเนื่อง แถมต้องเสียค่าเติมน้ำมันอีก ไม่ก่อเกิดรายได้ ให้ถือว่าเป็น หนี้สิน ในทางกลับกัน หากขับเป็นรถรับจ้างสร้างรายได้ ให้ถือว่าเป็น ทรัพย์สิน


- บ้าน อาคาร หากปล่อยบ้านไว้เฉยๆ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ สภาพบ้านเสื่อมโทรมลง ต้องซ่อมแซมใหม่ ไม่ก่อเกิดรายได้ ให้ถือว่าเป็น หนี้สิน ในทางกลับกัน หากปล่อยเช่า รอเก็บค่าเช่า ให้ถือว่าเป็น ทรัพย์สิน


- บุตร ในวัยเด็ก เรียนหนังสือยังไม่ก่อเกิดรายได้ ให้ถือว่าเป็น หนี้สิน ในทางกลับกัน หากบุตรเติบโต ทำหามากินเองได้ มีรายได้แบ่งให้ครอบครัว ให้ถือว่าเป็น ทรัพย์สิน


********************************************************************************
เพิ่มเติม


Photobucket

       เงิน 4 ด้าน แบ่งได้ดังนี้


       - ด้านซ้ายบน เรียกว่า ลูกจ้าง (Employee) ทำงานใช้แรงใช้สมองแลกกับรายได้ประจำ ไม่มีความเสี่ยงด้านการลงทุนด้วยเงิน แต่ขาดอิสรภาพต้องอยู่ในกฏระเบียบของทางบริษัท เมื่อตกงานก็ต้องหางานใหม่


       - ด้านซ้ายล่าง เรียกว่า ธุรกิจส่วนตัว (Self-Empolyee) มีอิสรภาพมากกว่าลูกจ้าง จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทำงานก่อน ไม่สามารถหยุดทำงานได้ หรือหากต้องการหยุดงานต้องหาคนมาดูแลแทน อาทิเช่น เจ้าของร้านเกมส์


       - ด้านขวาบน เรียกว่า เจ้าของธุรกิจ (Business Owner) จำเป็นต้องมีเงินลงทุน จ้างคนมาดูแลแทน หรือมีลูกทีมช่วยสร้างรายได้ ลงทุนด้านแรง , ความคิด และเวลาน้อยกว่า หากธุรกิจนั้นอยู่ตัวแล้ว สามารถทำงานน้อยลง หรือหยุดทำได้ อาทิเช่น ธุรกิจแฟรนไชน์ , บริษัทห้างร้านที่มีหลายสาขา และธุรกิจเครือข่าย เป็นต้น


       - ด้านขวาล่าง เรียกว่า นักลงทุน (Investor) จำเป็นต้องมีเงินลงทุน มีประสบการณ์ สามารถวิเคราะห์ได้ ในการเป็นนักลงทุน หากไม่มีประสบการณ์มาก่อน สามารถซื้อกองทุนรวมทดแทนได้ เพราะภายในกองทุนรวมนั้นๆ จะมีนักวิเคราะห์คอยดูแล บริหารพอร์ตที่เราได้ลงทุนไว้ให้มีกำไร






********************************************************************************